เบทาโกรเชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาธุรกิจของเบทาโกรให้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเบทาโกรได้มีการนำ SAP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างระบบรวมศูนย์เพื่อให้แผนกต่าง ๆ ของบริษัทฯ สามารถเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลร่วมกันได้ และให้กรอบโครงสร้างสำหรับการบัญชี การวางแผนการผลิต การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดจำหน่ายและการขาย การบำรุงรักษาโรงงาน และการบริหารจัดการต้นทุน ทั้งนี้เบทาโกรยังใช้ระบบ SAP (SAP modules) ในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อการเพิ่มบูรณาการการดำเนินงาน การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการลดต้นทุน

สำหรับการใช้งานระบบ SAP ของเบทาโกรที่ประสบความสำเร็จ เป็นตัวอย่างและเกิดประโยชน์ ได้แก่

  • ระบบ SAP ช่วยให้หน่วยธุรกิจต่าง ๆ ของเบทาโกรสามารถแบ่งปันข้อมูลแบบเรียลไทม์ ระหว่างทีม แผนก และผู้มีส่วนได้เสียภายใน และภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นการลดความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลด้วยการใช้แหล่งข้อมูลเดียวกัน และลดค่าใช้จ่ายการจัดการและการดำเนินงาน
  • เบทาโกร ได้ใช้ระบบ SAP ที่มีการทำงานแบบเรียลไทม์ และการทำงานที่สอดประสานกันสำหรับโมดูลต่างๆ ของ SAP ทำให้เบทาโกรมีการบริหารจัดการ Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพ ของข้อมูลการผลิต การขาย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อบริหารจัดการการประมาณการขาย การวางแผนการผลิต และกำหนดอัตรากำไรของเบทาโกรให้เหมาะสมที่สุดตามประเภทของผลิตภัณฑ์และลูกค้า
  • ระบบ SAP ยังช่วยให้เบทาโกรมองเห็นต้นทุน (Cost Visibility) เพราะมีการแบ่งปันข้อมูลกันในระหว่างแผนกต่าง ๆ ทั้งยังสามารถกำหนดราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นสำหรับช่องทางการขายต่าง ๆ และปรับกลุ่มสินค้าตามความต้องการผลิตภัณฑ์เบทาโกรในตลาดได้อีกด้วย
  • ระบบ SAP ยังช่วยปรับปรุงความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า ด้วยการใช้ระบบ Customer Relationship Management สำหรับแผนการสร้างความภักดีของลูกค้า แผนการตลาด และแผนการรับข้อคิดเห็นจากลูกค้า
  • ระบบ SAP เป็นเครือข่ายหลัก (backbone) ของ “ระบบสืบย้อนกลับอิเล็กทรอนิกส์เบทาโกร (Betagro E-Traceability)” ทำให้เบทาโกรสามารถสืบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากนี้ยังมี ระบบอื่น ๆ ที่เบทาโกรใช้ในการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่

  • ระบบการจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Sourcing System) ซึ่งให้ข้อมูลผู้จัดหาสินค้าและชี้โอกาสในการประหยัดต้นทุน
  • ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรสำหรับการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยการชี้โอกาสสำหรับการขายให้แก่ลูกค้ารายใหม่ และโอกาสการขายต่อยอด (Up-Selling) และการขายต่อเนื่อง (Cross-Selling) แก่ลูกค้าเดิม ตลอดจนการให้ข้อมูล “การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า (Customer Churn Analysis)” เพื่อช่วยให้เบทาโกรเข้าใจสาเหตุที่ลูกค้าบางรายไม่กลับมาทำธุรกิจซ้ำอีก
  • ระบบการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้เบทาโกรบริหารจัดการประสบการณ์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นในราคาที่ดีขึ้นให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ระบบการบริหารจัดการปศุสัตว์เบทาโกร (Betagro Livestock Management System) เป็นแพลตฟอร์มการบริหารจัดการฟาร์มที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลรายวัน ซึ่งช่วยพัฒนากระบวนการบริหารจัดการฟาร์มให้เป็นระบบดิจิทัล ด้วยการเชื่อมต่อระบบ IoT กับอุปกรณ์ฟาร์ม และให้ข้อมูลแก่บริษัท เพื่อการตัดสินใจทางด้านธุรกิจและการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ตั้งแต่การวางแผน และประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ ข้อมูลการจัดซื้อ ข้อมูลการบริโภคอาหารสัตว์ การใช้ยาสำหรับปศุสัตว์ และการทอดทิ้งและการเสียชีวิตของปศุสัตว์

นอกจากนี้ เบทาโกร ยังมีนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมมาตรการความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของเบทาโกร โดยได้ดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 27001 (ระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ) และ ISO 27001 (information security management system) รวมถึงการใช้มาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงไฟร์วอลและการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มการป้องกันความปลอดภัยและการจัดการด้านสารสนเทศ และให้ความมั่นใจว่ามีการดำรงระบบสารสนเทศที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบ ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่อาจเกิดขึ้น

ที่สำคัญเบทาโกรยังมีแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อการสำรองข้อมูลสำหรับระบบปฏิบัติการและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการกู้คืนข้อมูลในฮาร์ดดิสค์ในกรณีที่เกิดความบกพร่องหรือการสูญหายของข้อมูลที่สำรองไว้ นอกจากนี้ ยังมีแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อป้องกันมิให้ไวรัสเครือข่ายบุกรุกเข้าระบบสารสนเทศและเครือข่ายของบริษัทฯ