การจัดการสิ่งแวดล้อม

เบทาโกรและบริษัทย่อยมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่กับการใส่ใจ ดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อม อันครอบคลุมในทุกกลุ่มธุรกิจ ผ่านการวางแผนการดำเนินการให้ทุกขั้นตอนการทำงานมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยประเมินผลกระทบตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบระบบการทำงาน การผลิต ไปจนถึงการบำบัดและการกำจัดมลพิษที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงาน และชุมชนโดยรอบ ตระหนักถึงความสำคัญและดำเนินการตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสากล อาทิ ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย (OHSAS 18001/ ISO 45001) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50001) เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการพลังงาน

เบทาโกรให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนโยบายการจัดการพลังงานในการผลักดันส่งเสริมให้การใช้พลังงานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเบทาโกรและบริษัทย่อยดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ โดยปี 2564 สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและความร้อนลงกว่า 28 ล้านเมกะจูล ด้วยการดำเนินงานโครงการต่างๆ อาทิ การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบทำความเย็น โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2565 เบทาโกรและบริษัทย่อยมีเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดการลดการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตลงร้อยละ 3 เทียบจากปีฐาน (ปี2563)

0 ล้านเมกะจูล
การใช้ไฟฟ้าและพลังงานความร้อนโดยประมาณ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เบทาโกรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยดำเนินการร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการประเมินและจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นกรอบและแนวปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เบทาโกรและบริษัทย่อยมีการดำเนินการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) และผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในธุรกิจอาหารและอาหารสัตว์ ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการบริหารจัดการและดำเนินโครงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยในปี 2564 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีการนำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า 35 สถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้กว่า 40 เมกะวัตต์ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงกว่า 22,000 ตัน และดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ โครงการใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) และโครงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีแผนการดำเนินงานเพื่อขยายขอบเขตการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปยังผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร และ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์หลักในธุรกิจอาหารและอาหารสัตว์ เพื่อกำหนดเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้ลอดคล้องกับแนวทางของประเทศไทยและสากล

โดยมีรายละเอียดการประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2562 - 2564 ดังนี้

1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO)

ซึ่งผ่านการประเมินและทวนสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย

1.1
ธุรกิจอาหาร จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานแปรรูปไก่พัทลุง) และ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด

1.2
ธุรกิจอาหารสัตว์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) (โรงงานลพบุรี 4) และ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) (โรงงานสงขลา)

2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP)

การประเมินและทวนสอบ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่เนื้อสันในไก่ 1 กิโลกรัม เนื้ออกไก่ไม่มีหนัง 1 กิโลกรัม เนื้อสันในไก่ทอด สูตร SOUTHERN บรรจุถุง ขนาด 2 กิโลกรัม อกไก่ลอกหนังนึ่งซอส TANDOORI บรรจุถุง ขนาด 10 กิโลกรัมและ เนื้ออกไก่เสียบไม้ย่างถ่านรสสะเต๊ะ บรรจุถุง ขนาด 800 กรัม

การบริหารจัดการน้ำ

เบทาโกรมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการ 5Rs ได้แก่

การควบคุมคุณภาพอากาศ

เบทาโกรกำหนดแผนบริหารจัดการคุณภาพอากาศ ภายในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและหาแนวทางพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษทางอากาศ พร้อมทั้งวางแผนการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

เบทาโกรให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ ควบคุมและลดปริมาณมลพิษที่ระบายออก ได้แก่ การปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) ฝุ่นละอองรวม (TSP) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ให้อยู่ในค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และตรวจวัดคุณภาพ อากาศจากปล่องเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยมีการติดตั้งระบบบำบัดอากาศ และทำการบำรุงรักษา พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพนักงานและชุมชนโดยรอบ

การจัดการของเสีย

เบทาโกรดำเนินการจัดการน้ำเสีย โดยการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิและคุณภาพของน้ำเสียที่ปล่อยออกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกฎหมายกำหนด รวมถึงมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย และมีการติดตามและวัดผลคุณภาพน้ำ ทิ้งก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก